การวัดความดันโลหิต
วิธีการวัดความดันโลหิต
การวัดทำได้โดยการใช้ผ้าพันรอบแขน
สูบลมจะกระทั่งความดันสูงพอที่กดเส้นเลือดให้แฟมเลือดไม่ไหลผ่าน
เมื่อค่อยๆปล่อยลมออกที่ละน้อยจนกระทั่งได้ยินเสียงเลือดผ่านหลอดเลือดเรียก phase I of the Korotkoff sounds ค่าที่วัดได้เป็นค่าความดัน
systolic ส่วนค่า diastolic เป็นค่าที่ได้ยินเสียงตุ๊บเป็นครั้งสุดท้าย
การวัดความดันโดยใช้เครื่องมือ
เครื่องวัดความดันโลหิตที่ทำจากปรอท Mercury Sphygmomanometers
ตลอดระยะเวลา 50 ปีไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
นอกจากจะมีการพัฒนาไม่ให้มีปรอทค้างในหลอดเครื่องวัดความดันโลหิต
ยังแนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่ทำจากปรอท
ส่วนเครื่องชนิดอื่นหากจะใช้ต้องเทียบกับค่าที่วัดได้จากปรอทก่อน
ชนิดขดลวด Aneroid Sphygmomanometers
เครื่องชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆค่าที่วัดได้จะไม่แน่นอน
เพราะความเสื่อมของขดลวด ต้องนำมาเทียบกับค่าที่วัดได้จากเครื่องที่ทำจากปรอท
Hybrid Sphygmomanometers
เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้การได้ยินและเครื่อง
electronic pressure gauge แทนปรอท
เครื่องแบบนี้น่าจะทดแทนเครื่องที่ทำจากปรอท
The Oscillometric Technique
เป็นการวัดความดันโลหิตโดยการวัดแรงที่กระทำต่อผ้าที่พันแขน
วิธีการวัดความดันโลหิตนี้ใช้วัดความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยในตึกผู้ป่วยหนัก
การวัดความดันโลหิตในกลุ่มคนต่างๆ
ผู้ที่สูงอายุ
ผู้สูงอายุมักจะมีความดันโลหิตชนิด White Coat Hypertension (WCH) ดังนั้นจึงต้องวัด 2
ครั้งในท่านั่งและหาค่าเฉลี่ย และควรจะวัดในท่ายืน
เพราะว่าความดันในท่ายืนมักจะต่ำกว่าค่านั่ง
คนอ้วน
มักจะมีปัญหาเรื่องขนาดของผ้ามักจะมีขนาดเล็กเกินไป
ทำให้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้สูงเกินค่าเป็นจริง
เด็ก
ต้องเลือดของผ้าให้พอเหมาะกับแขนของเด็ก
หากวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าสูงไม่มาก และไม่มีอาการอาจจะต้องนัดมาวัดซ้ำ
การวัดอุณหภูมิ
ร่างกายเรามีกลไกที่จะรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ
แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
เมื่ออากาศร้อนร่างกายจะขับความร้อนออกจากร่างกาย โดยการที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมีการขยายตัวทำให้เกิดการระบายออก
นอกจากนั้นยังมีการขับเหงื่อเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันเมื่อร่างกายเย็น
หลอดเลือดที่ผิวหนังจะหดตัว กล้ามเนื้อจะมีการสั่นเพื่อสร้างความร้อนขึ้นมา
อุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิมีกี่ชนิด
- ปรอทสำหรับวัดไข้ชนิดมาตรฐานทำจากแก้วและมีปรอทอยู่ข้างใน
- ปรอทวัดไข้ที่หู ทำจากplastic หลักการใช้แสง infrared
ในการวัดไข้ โดยการใส่เข้าไปในรูหู อ่านผลเร็วเป็นตัวเลข
- ปรอทวัดไข้ชนิด electronic สามารถวัดไข้ได้ทั้งทางปาก
ทวารหนัก และช่องคลอกบอกลเป็นตัวเลข
- ปรอทวัดไข้โดยการแตะที่หน้าผาก
วิธีการวัดความดันอุณหภูมิ
การวัดอุณหภูมิทางปาก
เป็นตำแหน่งที่นิยมวัดมากที่สุด
การวัดตำแหน่งนี้ผู้ป่วยต้องหายใจทางจมูกได้ และไม่ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น
หรือสูบบุหรี่ก่อนวัดประมาณสามสิบนาที
1.
ใส่ปลายปรอทไว้ใต้ลิ้นข้างใดข้องหนึ่ง
2.
ปรอทบางชนิดจะส่งเสียงเตือนเมื่ออ่านอุณหภูมิได้
หรือรอจนกระทั่งอุณหภูมิคงที่ นำปรอทมาอ่านค่า
3.
ทำความสะอาดปรอทด้วยน้ำสบู่แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก
1.
ทายาหล่อลื่นที่ปลายปรอทอาจจะใช้
KY gelly เพื่อให้สอดปรอทได้ง่ายขึ้น
2.
ให้เด็กนอนคว่ำที่หน้าขาหรือนอนคว่ำบนเตียง
3.
แง้มแก้มก้น
ใส่ปรอทเข้าไปในรูทวารประมาณครึ่งถึงหนึ่งนิ้ว ใช้สองนิ้วจับปรอทตรงใกล้รูทวาร
4.
มืออีกข้างปล่อยแก้มก้น
5.
รอจนสัญญาณเตือนหรืออุณหภูมิไม่ขึ้น
6.
นำมาอ่านผล
7.
อุณหภูมิที่วัดได้จะสูงกว่าที่วัดได้ทางปากประมาณ
0.6 °C
8.
นำไปทำความสะอาด
9.
ไม่ควรนำปรอทที่วัดทางทวารหนักมาวัดที่ปาก
วิธีการวัดไข้ที่รักแร้
การวัดไข้ที่รักแร้จะให้ผลไม่แม่นยำ
หากวัดจากปากหรือก้นไม่ได้ค่อยวัดที่รักแร้
ค่าอุณหภูมิที่วัดจากรักแร้จะต่ำกว่าที่วัดจากปากประมาณ0.6 °C
1.
ใส่ปรอทไว้บนสุดของซอกรักแร้
2.
ปล่อยแขนลงแนบลำตัว
3.
รอสักครู่หรือจนอุณหภูมิไม่ขึ้น
4.
นำปรอทมาอ่านผล
การวัดความดันที่หู
1.
ตรวจสอบปรอทว่าสะอาด
หากมีสิ่งสกปรกต้องเช็ดออก
2.
เปิดเครื่องวัด
3.
หากเป็นเด็กให้ดึงติ่งหูไปข้างล่างและออกหลัง
แล้วใส่เครื่องวัดเข้าไปในรูหู
4.
หากเป็นผู้ใหญ่ให้ดึงขึ้นและไปข้างหลัง
5.
กดปุ่มวัดอุณหภูมิ
6.
นำปรอทออกมาและอ่านผล
ข้อผิดพลาดของการตรวจ
การวัดอุณหภูมิอย่างถูกต้องจะทำให้เราติดตามโรคได้อย่างใกล้ชิด
ข้อผิดพลาดเหล่านี้จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
- ขณะวัดไข้ทางปาก ปากหุบไม่สนิท
หรือหายใจทางปาก
- ใส่ปรอทไว้ในปากไม่แน่นพอ
- ใส่ปรอทไม่ถูกที่
- ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
- วัดอุณหภูมิหลังสูบบุหรือหรือดื่มน้ำอุ่นใน 20นาที
- วัดไข้หลังอาบน้ำอุ่น
การคลำชีพจร
การคลำชีพจรหมายถึงการคลำเส้นเลือดเลือดแดงที่อยู่ให้ผิวหนังมากที่สุด
เมื่อหัวใจบีบตัวเส้นเลือดที่เราคลำจะมีคลื่นมากระทบกับนิ้ว
เมื่อหัวใจคลายตัวคลื่นที่มีกระทบจะลดลง เราเรียกว่าหัวใจเต้นหนึ่งครั้ง
ตำแหน่งการคลำชีพจร
เวลาเราคลำชีพขจรเราคลำอะไรบ้าง
1.
นับชีพขจรโดยมากเราจับแค่
30 วินาทีแล้วคูณสองเป็นจำนวนครั้งต่อนาที
2.
ดูความสม่ำเสมอของชีพขจร
ปกติชีพขจรจะเร็วหรือช้าแต่จะสม่ำเสมอ
3.
ความแรงของชีพขจร
ปกติชีพขจรจะมีความแรงจนกระทั่งปลายนิ้วสัมผัสได้
การที่ชีพขจรเบาแสดงว่าหัวใจบีบตัวให้เลือดออกไปแต่ละครั้งน้อย
ชีพขจรของคนเราเต้นกี่ครั้ง
อัตราการเต้นของหัวใจ
|
|
ทารกและเด็ก
|
100-130
|
เด็ก-วัยรุ่น
|
80-100
|
ผู้ใหญ่
|
60-100
|
อัตราการเต้นของหัวใจหรือชีพขจรขึ้นกับ
- อายุ หากอายุน้อยจะเต้นเร็ว
อายุมากจะเต้นช้า
- ไข้ หากมีไข้หัวใจจะเต้นเร็ว
- อารมณ์ เครียดหรือโกรธก็จะเต้นเร็ว
- ปริมาณสารน้ำในเลือด หากร่างกายขาดสารน้ำ
เช่นอาเจียนหรือถ่ายเหลวหัวใจจะเต้นเร็ว
- โลหิตจาง
ผู้ที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยหรือที่เรียกว่าซีดจะมีการเต้นของหัวใจเร็วกว่าคนทั่วไป
- หัวใจ หากหัวใจบีบตัวไม่ดี
การเต้นของหัวใจจะเร็วกว่าปกติ
- ยา ยาบางประเภทจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว เช่น
ยาแก้หวัด ยารักษาหอบหืด
- บุหรี่ กาแฟ
การนับอัตราการหายใจ
การนับอัตราการหายใจจะช่วยให้ท่านทราบว่าการหายใจเพียงพอหรือไม่
หากว่าการหายใจไม่เพียงพอร่างกายเราจะหายใจเร็วขึ้นและแรงขึ้น
รูปข้างล่างเป็นการนับการหายใจ โดยเราจะสังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก
นับจำนวนครั้งในหนึ่งนาที
ปกติการถี่ของการหายใจขึ้นกับอายุ
- ทารกแรกคลอดจะหายใจเฉลี่ย 44 ครั้งต่อนาที
- เด็กทารกจะหายใจ 20-40 ครั้งต่อนาที
- เด็กก่อนวัยเรียนประมาณ: 20–30ครั้งต่อนาที
- เด็กวัยรุ่น16–25
ครั้งต่อนาที
- ผู้ใหญ่ 12–20
ต่อนาที
- ผู้ใหญ่ขณะออกกำลังกาย 35–45 ครั้งต่อนาที
จัดทำโดย
นางสาวเจนจิรา โพธิ์ภัย รหัส 57122230119
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น